วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ


                         
                                                     ฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ 





โคลงสี่สุภาพมีการบังคับ  เอก 7 แห่ง โท  4 แห่ง ดังนี้ 


คำเอก  คือ พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก  เช่นคำว่า   ปู่  ย่า  พี่  ช่วย  บ่  แม่  อยู่  ฯลฯ
รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้ (คำตาย  คือ  คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ละ สิ ผิว์ หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดมาตราแม่ กก  แม่  กด   แม่  กบ)  เช่นคำว่า  จาก ออก จด มิตร รส เสด็จ บาท บาป จบ    ฯลฯ

คำโท  คือพยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์โท  เช่นคำว่า
  ค้ำ  ข้อง  ไซร้  ทั้ง  รู้  ไท้  เพี้ยง  ฯลฯ




คำเอกโทษ โทโทษ
คำว่าโทษ หมายถึง ผิด

คำเอกโทษ  คือ การใช้เอกแทนในที่คำโท เช่น หน้า เขียนเป็น น่า เป็นคำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท  แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกในที่ที่บังคับวรรณยุกต์เอก  แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทแล้วนั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับอยู่เดิม  เช่นคำว่า
เส้น   แปลงเป็น  เซ่น
             เหล้า  แปลงเป็น  เล่า   เป็นต้น

 คำโทโทษ  คือ การใช้วรรณยุกต์โทแทนคำเอก     เช่น น่า เขียนเป็น หน้า คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก  แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทในที่ที่บังคับวรรณยุกต์โท  แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทที่ได้เปลี่ยนจาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกแล้ว นั้ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก กำกับเดิม เช่นคำว่า
                                                   เล่น  แปลงเป็น เหล้น
                                                   เล่า   แปลงเป็น  เหล้า
    ช่วย แปลงเป็น ฉ้วย    
    ฆ่า   แปลงเป็น ข้า   เป็นต้น



         คำสร้อย  ถ้าเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส จะเติมสร้อยลงในท้ายบาทที่ ๑ บาทที่ ๒ บาทที่ ๓  และบาทที่ ๔ ก็ได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมที่จะเติมสร้อยในบาทที่ ๔ จึงไม่ใคร่จะได้เห็นใน  การแต่ง    โคลง ๔ สุภาพทั่ว ๆ ไป แต่หากในหนังสือโคลงรุ่นเก่า ๆ เราอาจจะพบเห็นได้บ่อย และหากเราจะแต่งเล่นบ้างก็สามารถที่จะทําได้ไม่ผิดข้อบัญญัติแต่ประการใด คำสร้อยซึ่งใช้  ต่อท้ายโคลงสี่สุภาพในบาทที่ 1 และบาทที่ 3 นั้น จะใช้ต่อเมื่อความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากได้ใจความอยู่แล้วไม่ต้องใส่ เพราะจะทำให้ "รกสร้อย"



คำสร้อยที่นิยมใช้กันเป็นแบบแผนมีทั้งหมด 18 คำ                                  
     1.พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
     2.แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
     3.พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคลอาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือ
         บุรุษที่ 2 ก็ได้
     4.เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
     5.เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
     6.นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
     7.นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
     8.บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้
     9.รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
    10.ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
    11.เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
                                    12.ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
                                    13.แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
                                    14.ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
                                    15.แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
                                    16.อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์                                            เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตก                                              กังวล
                                    17.เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือ                                            วางไว้ให้คำครบตามบังคับ
                                   18.เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น
                          
                       คำว่า "เฮย" มาจากคำเขมรว่า  ហើយ "เหย" แปลว่า "แล้ว" 
                     จึงน่าจะมีความหมายว่าเป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน






อ้างอิง : www.dekgeng.com
               www.drnui.com
               www.st.ac.th




  งานวันนี้   

จงหาคำที่กำหนดให้จากคำประพันธ์

ชุดที่ 1
             พันเนตรภูวนาถตั้ง                             ตาระวัง ใดฮา
พักตร์สี่แปดโสตฟัง                                        อื่นอื้อ
กฤษณนิทรเลอหลัง                                        นาคหลับ ฤาพ่อ
สองพิโยคร่ำรื้อ                                               เทพท้าวทำเมิน

1. คำเอก  ได้แก่ ..............................................................
2. คำโท   ได้แก่ ..............................................................
3. คำตาย  ได้แก่ .............................................................
4. คำเอกโทษ  ได้แก่ ........................................................
5. คำโทโทษ  ได้แก่ .........................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ ………………………………………………………




ชุดที่ 2 
             สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง                           ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย                                          ห่างเศร้า                       
กี่คืนกี่วันวาย                                                      วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                                             หยุดได้ฉันใด
          
1. คำเอก  ได้แก่   ...........................................................................
2. คำโท   ได้แก่   ...........................................................................
3. คำตาย  ได้แก่ ...........................................................................
4. คำเอกโทษ  ได้แก่ ......................................................................
5. คำโทโทษ  ได้แก่ .......................................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ ……………………………………………………..............…


ชุดที่ 3

       สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือ             ลืมหลัง   
แสนสนุกปลุกใจหวัง                            วิ่งหรี้
เดินร่ายผายผันยัง                               ชายป่า
หัวร่อรื่นชื้นชี้                                        ส่องนิ้วชวนแล

1. คำเอก  ได้แก่  ...................................................................
2. คำโท   ได้แก่ ....................................................................
3. คำตาย  ได้แก่ ..................................................................
4. คำเอกโทษ  ได้แก่ ..............................................................
5. คำโทโทษ  ได้แก่ ...............................................................
                                           6. คำสร้อย ได้แก่ …………....……………………………………………  

ชุดที่ 4

              กระจงกระจิดหน้า                              เอ็นดู
   เดินเรี่ยเรี่ยงามตรู                                        กระจ้อย
   เหมือนกวางอย่างตาหู                                 ตีนกีบ
   มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย                                    แนบข้างเคียงสอง
                                     
1. คำเอก  ได้แก่ ..................................................................                                     
2. คำโท   ได้แก่ ..................................................................     
3. คำตาย  ได้แก่ .................................................................
4. คำเอกโทษ  ได้แก่ ............................................................ 
5. คำโทโทษ  ได้แก่ ..............................................................
6. คำสร้อย ได้แก่     .………………………………………………………


                                         
 ชุดที่ 5

            เสียงลือเสียงเล่าอ้าง               อันใด พี่เอย              
   เสียงย่อมยอยศใคร                         ทั่วหล้า
   สองเขือพี่หลับใหล                           ลืมตื่น ฤๅ
   สองพี่คิดเองอ้า                                 อย่าได้ถามเผือ
                                         
 1. คำเอก  ได้แก่ ..................................................................
 2. คำโท   ได้แก่ ..................................................................     
 3. คำตาย  ได้แก่ .................................................................
 4. คำเอกโทษ  ได้แก่ ............................................................
 5. คำโทโทษ  ได้แก่ .............................................................
 6. คำสร้อย ได้แก่     .………………………………………………………


คะแนนชุดที่

 1. ................  2. ................  3. .................   4. ................   5...............   6. .................





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น