วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เงินถุงแดง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องเงินพระคลังข้างที่ไว้ในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๓ ความว่า…
“เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าเดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่าย คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าฯ ทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นข้างที่อีกมาก เรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ”
เงินถุงแดง เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 ทรงทำหน้าที่กำกับราชการกรมท่า
กรมท่านี้เป็นกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการต่างประเทศ การพาณิชย์ แล้วก็การพระคลัง ทรงบริหารงานราชการกรมท่าเข้มแข็งมากแล้วก็นำรายได้เข้าสู่แผ่นดินได้จำนวนมากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินแผ่นดินสมัยก่อนเค้าเรียกว่าเงินในท้องพระคลังหลวง
วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศทางก็จะมีเปอร์เซียเป็นนักค้าตัวยง มีทั้งสำเภาหลวง แล้วก็สำเภาของส่วนพระองค์ด้วย ทรงนำสินค้าของส่วนพระองค์ใส่เรือสำเภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่างประเทศด้วย เงินที่ได้มา ในส่วนของสำเภาหลวงก็เข้าคลังหลวง ในส่วนของสำเภาส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งก็คือถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวงด้วย อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เงินส่วนพระองค์ที่ทรงเก็บไว้ในถุงแดง ข้างที่พระบรรทม พอเงิน เต็มถุง พอเต็มถุงก็จะทรงนำเข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรงสะสมใหม่ เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็นสมบัติแผ่นดินอีก ทั้งๆที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อพระองค์มีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือที่ที่ทรงค้าขาย ทั้งเมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และเมื่อครองราชย์แล้วด้วยเหมือนกัน คือจากสำเภาส่วนพระองค์ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ เพราะเงินถุงแดงเก็บข้างที่พระบรรทม ซึ่งต่อมาก็เป็นที่มาของคำว่าพระคลังข้างที่ ใส่ในถุงแดง
สมัยโบราณเวลาเขาเก็บเงินเขาจะห่อมิดชิดแล้วตีตรา คือ เก็บในถุงแดงแล้วก็จะมีกำปั่นคือเป็นวิธีการเก็บเงินในสมัยโบราณเขาจะใส่กำปั่น จะวางไว้ข้างพระที่ หรือว่า ตอบไม่ได้แน่นอนว่าวางไว้ข้างพระแท่นบรรทมหรือว่ามีห้องเก็บแต่เขาก็เรียกว่าเงินข้างที่บรรทมหรือพระคลังข้างที่
เงินถุงแดง ถูกนำมาใช้สมทบเป็นค่าปรับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่นำไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ฝรั่งเศส ก็ยังไม่พอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดาไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสนไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืนออกไปหลายเที่ยว เนื่องจากมีเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยวทำให้ถนนเป็นรอยสึกเพราะน้ำหนักของเงินเหรียญจำนวนมากมายมีน้ำหนักถึง 21 ตัน
เงินถุงแดง ไม่ได้เป็นเพียงแต่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงนำมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมืองในเหตุการณ์ ร.ศ.112 เท่านั้นแต่เรื่องราวของเงินถุงแดงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ส่งอิทธิพลให้เกิดเหรียญกษาปณ์ไทยในสมัยต่อมา
https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-60/page1-5-60.html
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องเงินพระคลังข้างที่ไว้ในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๓ ความว่า…
“เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าเดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่าย คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าฯ ทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นข้างที่อีกมาก เรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ”
เงินถุงแดง เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 ทรงทำหน้าที่กำกับราชการกรมท่า
กรมท่านี้เป็นกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการต่างประเทศ การพาณิชย์ แล้วก็การพระคลัง ทรงบริหารงานราชการกรมท่าเข้มแข็งมากแล้วก็นำรายได้เข้าสู่แผ่นดินได้จำนวนมากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินแผ่นดินสมัยก่อนเค้าเรียกว่าเงินในท้องพระคลังหลวง
วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศทางก็จะมีเปอร์เซียเป็นนักค้าตัวยง มีทั้งสำเภาหลวง แล้วก็สำเภาของส่วนพระองค์ด้วย ทรงนำสินค้าของส่วนพระองค์ใส่เรือสำเภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่างประเทศด้วย เงินที่ได้มา ในส่วนของสำเภาหลวงก็เข้าคลังหลวง ในส่วนของสำเภาส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งก็คือถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวงด้วย อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เงินส่วนพระองค์ที่ทรงเก็บไว้ในถุงแดง ข้างที่พระบรรทม พอเงิน เต็มถุง พอเต็มถุงก็จะทรงนำเข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรงสะสมใหม่ เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็นสมบัติแผ่นดินอีก ทั้งๆที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อพระองค์มีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือที่ที่ทรงค้าขาย ทั้งเมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และเมื่อครองราชย์แล้วด้วยเหมือนกัน คือจากสำเภาส่วนพระองค์ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ เพราะเงินถุงแดงเก็บข้างที่พระบรรทม ซึ่งต่อมาก็เป็นที่มาของคำว่าพระคลังข้างที่ ใส่ในถุงแดง
สมัยโบราณเวลาเขาเก็บเงินเขาจะห่อมิดชิดแล้วตีตรา คือ เก็บในถุงแดงแล้วก็จะมีกำปั่นคือเป็นวิธีการเก็บเงินในสมัยโบราณเขาจะใส่กำปั่น จะวางไว้ข้างพระที่ หรือว่า ตอบไม่ได้แน่นอนว่าวางไว้ข้างพระแท่นบรรทมหรือว่ามีห้องเก็บแต่เขาก็เรียกว่าเงินข้างที่บรรทมหรือพระคลังข้างที่
เงินถุงแดง ถูกนำมาใช้สมทบเป็นค่าปรับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่นำไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ฝรั่งเศส ก็ยังไม่พอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดาไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสนไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืนออกไปหลายเที่ยว เนื่องจากมีเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยวทำให้ถนนเป็นรอยสึกเพราะน้ำหนักของเงินเหรียญจำนวนมากมายมีน้ำหนักถึง 21 ตัน
เงินถุงแดง ไม่ได้เป็นเพียงแต่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงนำมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมืองในเหตุการณ์ ร.ศ.112 เท่านั้นแต่เรื่องราวของเงินถุงแดงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ส่งอิทธิพลให้เกิดเหรียญกษาปณ์ไทยในสมัยต่อมา
https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-60/page1-5-60.html
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
ฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
คำเอก คือ พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก เช่นคำว่า ปู่
ย่า พี่ ช่วย
บ่ แม่ อยู่
ฯลฯ
รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้ (คำตาย
คือ
คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ละ สิ ผิว์ หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดมาตราแม่
กก แม่
กด แม่ กบ)
เช่นคำว่า จาก ออก จด มิตร รส เสด็จ
บาท บาป จบ ฯลฯ
คำโท คือพยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์โท เช่นคำว่า
ค้ำ ข้อง
ไซร้ ทั้ง รู้
ไท้ เพี้ยง ฯลฯ
คำเอกโทษ –
โทโทษ
คำว่าโทษ
หมายถึง ผิด
คำเอกโทษ คือ การใช้เอกแทนในที่คำโท เช่น หน้า เขียนเป็น น่า
เป็นคำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท
แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกในที่ที่บังคับวรรณยุกต์เอก
แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทแล้วนั้น
ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า
เส้น แปลงเป็น
เซ่น
เหล้า แปลงเป็น
เล่า เป็นต้น
คำโทโทษ คือ การใช้วรรณยุกต์โทแทนคำเอก เช่น น่า เขียนเป็น หน้า คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก
แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทในที่ที่บังคับวรรณยุกต์โท
แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทที่ได้เปลี่ยนจาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกแล้ว
นั้ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก
กำกับเดิม เช่นคำว่า
เล่น แปลงเป็น เหล้น
เล่า แปลงเป็น
เหล้า
ช่วย แปลงเป็น ฉ้วย
ฆ่า แปลงเป็น ข้า เป็นต้น
ฆ่า แปลงเป็น ข้า เป็นต้น
คำสร้อย ถ้าเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส
จะเติมสร้อยลงในท้ายบาทที่ ๑ บาทที่ ๒ บาทที่ ๓ และบาทที่ ๔ ก็ได้
แต่ในปัจจุบันไม่นิยมที่จะเติมสร้อยในบาทที่ ๔ จึงไม่ใคร่จะได้เห็นใน การแต่ง โคลง ๔
สุภาพทั่ว ๆ ไป แต่หากในหนังสือโคลงรุ่นเก่า ๆ เราอาจจะพบเห็นได้บ่อย
และหากเราจะแต่งเล่นบ้างก็สามารถที่จะทําได้ไม่ผิดข้อบัญญัติแต่ประการใด
คำสร้อยซึ่งใช้ ต่อท้ายโคลงสี่สุภาพในบาทที่ 1 และบาทที่ 3
นั้น จะใช้ต่อเมื่อความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากได้ใจความอยู่แล้วไม่ต้องใส่
เพราะจะทำให้ "รกสร้อย"
2.แม่
ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
3.พี่
ใช้ขยายความเฉพาะบุคคลอาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1
หรือ
บุรุษที่ 2 ก็ได้
4.เลย
ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
5.เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
6.นา
มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
7.นอ
มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
8.บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้
9.รา
มีความหมายว่า เถอะ เถิด
10.ฤๅ
มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
11.เนอ
มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
12.ฮา
มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
13.แล
มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
14.ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
15.แฮ
มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
16.อา
ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา
พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตก กังวล
17.เอย
ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น
หรือ วางไว้ให้คำครบตามบังคับ
18.เฮย
ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น
คำว่า "เฮย" มาจากคำเขมรว่า ហើយ "เหย" แปลว่า "แล้ว"
จึงน่าจะมีความหมายว่าเป็นเช่นนั้นแล้ว
ได้เช่นกัน
อ้างอิง : www.dekgeng.com
www.drnui.com
งานวันนี้
จงหาคำที่กำหนดให้จากคำประพันธ์
ชุดที่ 1
พันเนตรภูวนาถตั้ง
ตาระวัง ใดฮา
พักตร์สี่แปดโสตฟัง
อื่นอื้อ
กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤาพ่อ
สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน
1. คำเอก ได้แก่ ..............................................................
2. คำโท ได้แก่ ..............................................................
3. คำตาย ได้แก่ .............................................................
4. คำเอกโทษ ได้แก่ ........................................................
5. คำโทโทษ ได้แก่
.........................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ ………………………………………………………
ชุดที่ 2
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
1. คำเอก ได้แก่ ...........................................................................
2. คำโท ได้แก่ ...........................................................................
3. คำตาย ได้แก่
...........................................................................
4. คำเอกโทษ ได้แก่
......................................................................
5. คำโทโทษ ได้แก่
.......................................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ ……………………………………………………..............…
ชุดที่ 3
สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือ ลืมหลัง
แสนสนุกปลุกใจหวัง วิ่งหรี้
แสนสนุกปลุกใจหวัง วิ่งหรี้
เดินร่ายผายผันยัง ชายป่า
หัวร่อรื่นชื้นชี้ ส่องนิ้วชวนแล
1. คำเอก ได้แก่ ...................................................................
2. คำโท ได้แก่ ....................................................................
3. คำตาย ได้แก่
..................................................................
4. คำเอกโทษ ได้แก่ ..............................................................
5. คำโทโทษ ได้แก่ ...............................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ …………....……………………………………………
ชุดที่ 4
กระจงกระจิดหน้า เอ็นดู
เดินเรี่ยเรี่ยงามตรู
กระจ้อย
เหมือนกวางอย่างตาหู ตีนกีบ
มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย แนบข้างเคียงสอง
1. คำเอก ได้แก่ ..................................................................
2. คำโท ได้แก่ ..................................................................
3. คำตาย ได้แก่ .................................................................
4. คำเอกโทษ ได้แก่ ............................................................
5. คำโทโทษ ได้แก่
..............................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ .………………………………………………………
ชุดที่ 5
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅ
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
1. คำเอก ได้แก่ ..................................................................
2. คำโท ได้แก่ ..................................................................
3. คำตาย ได้แก่ .................................................................
4. คำเอกโทษ ได้แก่ ............................................................
5. คำโทโทษ ได้แก่ .............................................................
6. คำสร้อย ได้แก่ .………………………………………………………
คะแนนชุดที่
1. ................ 2. ................ 3. ................. 4. ................ 5............... 6. .................
1. ................ 2. ................ 3. ................. 4. ................ 5............... 6. .................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)