วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เทพเจ้าฮินดูในวรรณคดีไทย

https://docs.google.com/a/bodin2.ac.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=Ym9kaW4yLmFjLnRofHJlc291cmNlc3xneDozZDYwMTlhYWE3YzMxMjc4

ภาษาบาลี - สันสกฤต

https://docs.google.com/a/bodin2.ac.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=Ym9kaW4yLmFjLnRofHJlc291cmNlc3xneDo3YWVlODRmZjc4NDFkMTIy

รายงานพืชผลของพ่อ

https://docs.google.com/a/bodin2.ac.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=Ym9kaW4yLmFjLnRofHJlc291cmNlc3xneDo1Yzc5NmUwMWNjZjdkMzFj

รายงานการปลูกข้าว

https://docs.google.com/a/bodin2.ac.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=Ym9kaW4yLmFjLnRofHJlc291cmNlc3xneDo2ZGI3OTFiMDNjYjU5M2E5

นิทานเวตาล

https://docs.google.com/a/bodin2.ac.th/viewer?a=v&pid=sites&srcid=Ym9kaW4yLmFjLnRofHJlc291cmNlc3xneDo1NGE5NzA5YjA1ZmFmYjE0
เงินถุงแดง



สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องเงินพระคลังข้างที่ไว้ในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๓ ความว่า…
       “เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าเดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่าย คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าฯ ทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นข้างที่อีกมาก เรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ”

             เงินถุงแดง เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 ทรงทำหน้าที่กำกับราชการกรมท่า
    กรมท่านี้เป็นกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการต่างประเทศ การพาณิชย์ แล้วก็การพระคลัง ทรงบริหารงานราชการกรมท่าเข้มแข็งมากแล้วก็นำรายได้เข้าสู่แผ่นดินได้จำนวนมากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินแผ่นดินสมัยก่อนเค้าเรียกว่าเงินในท้องพระคลังหลวง
         วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศทางก็จะมีเปอร์เซียเป็นนักค้าตัวยง มีทั้งสำเภาหลวง แล้วก็สำเภาของส่วนพระองค์ด้วย ทรงนำสินค้าของส่วนพระองค์ใส่เรือสำเภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่างประเทศด้วย เงินที่ได้มา ในส่วนของสำเภาหลวงก็เข้าคลังหลวง ในส่วนของสำเภาส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งก็คือถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวงด้วย อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เงินส่วนพระองค์ที่ทรงเก็บไว้ในถุงแดง ข้างที่พระบรรทม พอเงิน เต็มถุง พอเต็มถุงก็จะทรงนำเข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรงสะสมใหม่ เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็นสมบัติแผ่นดินอีก ทั้งๆที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อพระองค์มีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือที่ที่ทรงค้าขาย ทั้งเมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และเมื่อครองราชย์แล้วด้วยเหมือนกัน คือจากสำเภาส่วนพระองค์ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ เพราะเงินถุงแดงเก็บข้างที่พระบรรทม ซึ่งต่อมาก็เป็นที่มาของคำว่าพระคลังข้างที่ ใส่ในถุงแดง





              สมัยโบราณเวลาเขาเก็บเงินเขาจะห่อมิดชิดแล้วตีตรา คือ เก็บในถุงแดงแล้วก็จะมีกำปั่นคือเป็นวิธีการเก็บเงินในสมัยโบราณเขาจะใส่กำปั่น จะวางไว้ข้างพระที่ หรือว่า ตอบไม่ได้แน่นอนว่าวางไว้ข้างพระแท่นบรรทมหรือว่ามีห้องเก็บแต่เขาก็เรียกว่าเงินข้างที่บรรทมหรือพระคลังข้างที่






             เงินถุงแดง ถูกนำมาใช้สมทบเป็นค่าปรับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่นำไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ฝรั่งเศส ก็ยังไม่พอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดาไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสนไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืนออกไปหลายเที่ยว เนื่องจากมีเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยวทำให้ถนนเป็นรอยสึกเพราะน้ำหนักของเงินเหรียญจำนวนมากมายมีน้ำหนักถึง 21 ตัน
              เงินถุงแดง      ไม่ได้เป็นเพียงแต่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงนำมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมืองในเหตุการณ์ ร.ศ.112 เท่านั้นแต่เรื่องราวของเงินถุงแดงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยรัชกาลที่ และได้ส่งอิทธิพลให้เกิดเหรียญกษาปณ์ไทยในสมัยต่อมา


https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-60/page1-5-60.html
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเรื่องเงินพระคลังข้างที่ไว้ในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๓ ความว่า…
       “เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าเดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่งสำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่าย คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าฯ ทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นข้างที่อีกมาก เรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ”

             เงินถุงแดง เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 ทรงทำหน้าที่กำกับราชการกรมท่า
    กรมท่านี้เป็นกรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการต่างประเทศ การพาณิชย์ แล้วก็การพระคลัง ทรงบริหารงานราชการกรมท่าเข้มแข็งมากแล้วก็นำรายได้เข้าสู่แผ่นดินได้จำนวนมากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินแผ่นดินสมัยก่อนเค้าเรียกว่าเงินในท้องพระคลังหลวง
         วิธีการหารายได้ของพระองค์ท่าน คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศทางก็จะมีเปอร์เซียเป็นนักค้าตัวยง มีทั้งสำเภาหลวง แล้วก็สำเภาของส่วนพระองค์ด้วย ทรงนำสินค้าของส่วนพระองค์ใส่เรือสำเภาของส่วนพระองค์ค้าขายกับต่างประเทศด้วย เงินที่ได้มา ในส่วนของสำเภาหลวงก็เข้าคลังหลวง ในส่วนของสำเภาส่วนพระองค์ ได้ทรงแบ่ง ส่วนหนึ่งก็คือถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวงด้วย อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เงินส่วนพระองค์ที่ทรงเก็บไว้ในถุงแดง ข้างที่พระบรรทม พอเงิน เต็มถุง พอเต็มถุงก็จะทรงนำเข้าพระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด และทรงสะสมใหม่ เพื่อพระราชทานเก็บเข้าพระคลังหลวงเป็นสมบัติแผ่นดินอีก ทั้งๆที่เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อพระองค์มีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือที่ที่ทรงค้าขาย ทั้งเมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และเมื่อครองราชย์แล้วด้วยเหมือนกัน คือจากสำเภาส่วนพระองค์ด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ เพราะเงินถุงแดงเก็บข้างที่พระบรรทม ซึ่งต่อมาก็เป็นที่มาของคำว่าพระคลังข้างที่ ใส่ในถุงแดง





              สมัยโบราณเวลาเขาเก็บเงินเขาจะห่อมิดชิดแล้วตีตรา คือ เก็บในถุงแดงแล้วก็จะมีกำปั่นคือเป็นวิธีการเก็บเงินในสมัยโบราณเขาจะใส่กำปั่น จะวางไว้ข้างพระที่ หรือว่า ตอบไม่ได้แน่นอนว่าวางไว้ข้างพระแท่นบรรทมหรือว่ามีห้องเก็บแต่เขาก็เรียกว่าเงินข้างที่บรรทมหรือพระคลังข้างที่






             เงินถุงแดง ถูกนำมาใช้สมทบเป็นค่าปรับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง โดยนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่นำไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ฝรั่งเศส ก็ยังไม่พอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดาไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสนไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืนออกไปหลายเที่ยว เนื่องจากมีเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยวทำให้ถนนเป็นรอยสึกเพราะน้ำหนักของเงินเหรียญจำนวนมากมายมีน้ำหนักถึง 21 ตัน
              เงินถุงแดง      ไม่ได้เป็นเพียงแต่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงนำมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมืองในเหตุการณ์ ร.ศ.112 เท่านั้นแต่เรื่องราวของเงินถุงแดงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยรัชกาลที่ และได้ส่งอิทธิพลให้เกิดเหรียญกษาปณ์ไทยในสมัยต่อมา


https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-60/page1-5-60.html